จดหมายเหตุการบูรณะพระธาตุพนมในรอบ 40 ปี

บันทึกจดหมายเหตุการบูรณะพระธาตุพนมในรอบ 40 ปี ตั้งแต่ปี 2562 – 2564

 

 

โครงการบูรณะพระธาตุพนมครั้งที่ 1  (หุ้มยอดน้ำค้างทองคำ)

ประธาน​โครงการ​ พระครู​โสภณ​ธรรม​สโรช​  เจ้าอาวาส​วัดป่าหัวดอน ต.หัว​ดอน​ อ.เขื่องใน​ จ.อุบล​ราชธานี​

 

  1. ล้างพระธาตุ​พนมทาสีถวายใหม่ทั้งองค์​และปิดทองคำเปลวใหม่​ทั้งองค์
  2. หุ้มทองคำยอดน้ำค้าง​ใช้ทอง 99.99 % ความหนา 1 มิลลิเมตรและดอกบัวทองคำ น้ำหนักทองคำทั้งหมด 13.184 กิโลกรัม ประดับ​อัญมณี​ไพริน เพทาย พลอย เพชร ​ทับทิม​ (กลีบบัวขุดที่ 1 จำนวน 24 กลีบ น.น. 257.31 กรัม ฝัง 1,056 เม็ด กลีบบัวชุดที่ 2 จำนวน 28 กลีบ น.น. 390.83 กรัม ฝัง 1720 เม็ด)​
  3. กระดิ่งทองคำ 32 ใบ ใช้ทอง 96.5 % รวมน้ำหนักทองคำ 2.513 กิโลกรัม
  4. ดอกบัวยอดสุด + น็อตทองคำ น.น. 474.42 กรัม ฝังเพชร​ 379 เม็ด
  • รวมทองคำทั้งหมด16.171 กิโลกรัม
  • รวมเป็นปัจจัยบูรณะ​ 29,655,858 บาท
  • ยกถวายหุ้ม​เมื่อวันที่ 7 กันยายน ​2562​

 

โครงการหุ้มปลียอดพระธาตุพนนครั้งที่ 2

ผู้ริเริ่ม​โครงการ​ ผศ.ดร.ปฐมพงศ์ ณ จัมปาศักดิ์ นักวิชาการศิลปวัฒนธรรมอีสาน และผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส)

 

  1. หุ้มปลียอดพระธาตุ​พนม​ส่วนที่ 1 ใช้นำหนักทองคำ 14.176 กิโลกรัม​ประดับดอกกาละกับทองคำบูชา​พระพุทธ​ ด้านละ 5 ดอกรวม 4 ด้าน 20 ดอก
  2. หุ้มปล​ี​ยอดพระธาตุ​พนม​ ส่วนที่2 ใช้น้ำหนัก​ทองคำ 21.617 กิโลกรัม
  • ยกหุ้ม​ถวายวันที่ 25 มกราคม​ 2563

 

โครงการหุ้มปลียอดพระธาตุพนมครั้งที่ 3
ประธาน​โครงการ​ พระครู​สังฆรักษ์​เพทาย​ นนฺทวโร เจ้าอาวาส​วัดเจริญวิจิตรังสีสุธโธ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

 

หุ้มปลียอดพระธาตุ​พนม​ส่วนที่สาม(ส่วนฐาน)​เพิ่มถวายดอกบัว​รับบารมี16กลีบ​ล้อมรอบฐานปลีทองคำ
ใช้นำหนักทองคำ 37.378​ กิโลกรัม
ยกหุ้ม​ถวาย 20 กันยายน​ 2563
ทองคำที่เหลือจะรวบรวมหล่อเป็นพระทองคำปางนาคปรก(ประมาณ​17กิโลกรัม)​ ชื่อพระนามว่า “พระพุทธโคดมสัตตนาคราชจตุรทิศ” แปลว่า พระพุทธเจ้าโคดมประทับนั่งบนพญาสัตตนาคราช สร้างจากประชาชนทั่วสารทิศ”
และระฆัง​ทองคำประจำทิศทั้ง4
(ใบละครึ่งกิโลกรัม​รวม2กิโลกรัม)​
รวมทองคำที่ใช้ในโครงการทั้งสามโครงการ​ 108.342 กิโลกรัม

 


 

พระไตรปิฎก​ทองคํา​หุ้ม​ห้อง​พระ​อุรัง​ค​ธาตุ​ครั้ง​ที่ 4

ประธาน​โครงการ​ พระ​เทพ​ว​ร​มุนี​เจ้าอาวาส​วัด​พระธาตุ​พนม​ เจ้าคณะ​จังหวัด​นครพนม

 

เพื่อถวายบูชาพระธรรมแด่องค์​พระอุรัง​ค​ธาตุ​ ที่บรรจุ​ประดิษฐาน​ไว้ ณ พระธาตุ​พนม​ โดยใช้แผ่น ทองแดงแล้วมาจารึก​พระไตรปิฎก​ โดยหลังจากนั้นได้นำทองคำมาเคลือบ​ โดยใช้เทคนิค อิเล็กทริก​ฟอร์ม​มิ่ง​ ใช้ทองคำทั้งหมด ประมาณ​ 30 กิโลกรัม​

ในหมวดหมู่​ที่สำคัญ​ ดังนี้
ปุริมายะ แผ่นที่ 1 – 50
1 พระภิกขุปาฏิโมกข์
10 พระวินัยขันธกะ
10 ปฏิจจสมุปปาท
13 ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร
15 อนัตตลักขณสูตร
25 อาทิตตปริยายสูตร
30 พรหมชาละสูตร ทีฆนิกาย
46 ลักขณสูตร
จบเล่มหนึ่ง

ทกฺขิณายะ แผ่นที่ 51 – 100
1 ลักขณสูตร (ต่อ)
5 สัมปสาทนียสูตร
10 มหาปรินิพพานสูตร
40 อัจฉริยอัพภูตธัมมสูตร
43 อานาปานสติสูตร
45 ปาสราสิสูตร
จบเล่ม 2

ปจฺฉิมายะ แผ่นที่ 101- 150
1 ปาสราสิสูตร(ต่อ)
2 เทวธาวิตักสูตร
5 มหาสีหนาทสูตร
12 สติปัฏฐานสูตร
18 ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ
18 สรณะ
18 ทสสิกขาบท
19 ทฺวัตตึงสาการ
19 สามเณรปัญหา
19 มงคลสูตร
19 รตนสูสูตร
20 ติโรกุฑฺฑกัณฑ์
20 นิธิกัณฑ์
20 กรณียเมตตสูตร
20 คาถาธรรมบท 10 วรรค
23 ปรายนวรรค
27 สารีปุตตสุตตนิทเทส
48 พระอภิธรรมปิฎก
จบเล่ม 3

(151 -200 ยังไม่ได้ลงข้อมูล)
ได้บรรจุ​ทั้งหมด 224 แผ่น ด้านละ 56 แผ่น
51″34 ซม. จำนวน 200 แผ่น
32*60 ซม. จำนวน 24 แผ่น
และมีเครื่องประดับ​ดอกกาฬ​กัลป์​ และบัวปิดคิวบนล่างเป็นงานจิเวอร์​รี่ มีลสดลายใบโพธิ์​ด้านบนและบ้วหงายด้านล่าง

ดำเนินการ​ติดตั้ง​ถวายในวันที่ 9 ธันวาคม​ 2564​

ในระยะการดำเนิน​งานทั้ง 4 โครงการ​จัดสร้างขึ้นในรัชสมัย​พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันของประเทศไทย เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี ประเทศ​ไทย ขอพระสัจธรรม​ดำรงอยู่ตลอดอนันตกาลเทอญ